พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ คณะกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ ส่วนกลางคณะกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ประจำจังหวัด และมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมพร้อมด้วย ผู้มีจิตศรัท ...
ข้าพเจ้ายินดีที่ได้พบกับท่านทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ นี้ มีอายุครึ่งหนึ่งของผู้ก่อตั้ง หมายความว่า ๓๖ ปี คนที่อายุ ๓๖ ปีนั้น ก็นับว่าเป็นผู้ใหญ่และทำงานได้ดี
แต่มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ ได้ทำประโยชน์แก่ประชาชนผู้ที่ประสบอุทกภัย วาตภัย และอัคคีภัย มาตั้งแต่ต้นคือ ตั้งแต่ต้นนั้น ก่อนที่ตั้งเป็นมูลนิธิก็ได้ช่วยผู้ที่ประสบภัยที่นครศรีธรรมราช และตอนนั้นก็ทำให้เกิดกิจการของมูลนิธิเพ่ิมเติมขึ้น นอกจากที่จะช่วยผู้ประสบภัย เอาของไปแจก หรือไปสร้างบ้านให้ คือ ได้ทำให้เกิดมีโรงเรียนราชประชา-นุเคราะห์ หมายความว่าผู้ที่ประสบภัย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นผู้เยาว์ หมดที่พึ่ง ก็จะต้องให้สิ่งของเพื่อที่จะดำรงชีวิตได้ และสำคัญที่สุดจะต้องให้สามารถที่จะเรียนรู้ มีความรู้ประดับตัว เพื่อที่จะสามารถฟันฝ่าอุปสรรคในชีวิตต่อไป ถึงดีใจที่ได้เห็นผู้ที่ได้รับทุนและการอุปการะของมูลนิธิเดี๋ยวนี้มีหน้าที่ มีงานการที่ดี มีหน้าที่สูง ก็หมายความว่า เขาเองก็ได้ตั้งใจที่จะเล่าเรียน และตั้งใจที่จะบำพ็ญตนให้ดี อันนี้ก็ถือว่าเป็นความดีที่ผู้ที่ได้รับทุนได้ทำให้แก่มูลนิธิ
ที่จะต้องขอบใจท่านทั้งหลายตามที่ท่านได้ทำคือ กรรมการของมูลนิธิส่วนกลาง กรรมการส่วนจังหวัดได้ช่วยให้มูลนิธิเติบโตมาได้ด้วยดีและมีชื่อเสียง ทำให้ประชาชนมีจิตศรัทธา มีศรัทธาจริงๆ ที่จะบำรุง ที่จะช่วยมูลนิธิ ดังที่ท่านทั้งหลายที่เป็นผู้ได้บริจาค ก็จะต้องขอบใจทั้งเจ้าหน้าที่ทั้งผู้บริจาคนอกจากนี้ต้องแจ้งว่ามูลนิธินี้มิใช่เฉพาะนำของไปแจกหรือช่วยเหลือในทำงการศึกษาแต่ก็ได้ทำอย่างอื่น คือทำงาน ซึ่งดูท่าทำงอาจจะไม่ใช่หน้าที่ของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ เพราะว่าไม่ได้ไปบรรเทาทุกข์เขาที่ประสบอุทกภัยหรือวาตภัย แต่ว่าป้องกัน ข้อสำคัญป้องกันไม่ให้เกิดอุทกภัยอย่างนั้นไม่ให้เกิดความเสียหายอย่างนั้น ดังที่ประธานกรรมการฯ ได้พูดถึงที่เกิดอุทกภัยที่จังหวัดชุมพร และบอกว่าได้บริจาคสามสิบล้าน สามสิบล้านนั่น ดูๆ ไปก็เป็นจำนวนไม่น้อย แต่ว่าถ้าเปรียบเทียบกับที่ได้ประหยัด ก็ได้ประหยัดมาแล้วเกือบสองพันล้าน เพราะว่าไม่ได้เกิดน้ำท่วม ถ้าไม่เกิดน้ำท่วมนั้นก็ไม่เป็นสิ่งที่ตื่นเต้น เพราะว่าการมีน้ำท่วม สื่อมวลชนก็ไปถ่ายรูป ถ่ายโทรทัศน์ ถ่ายวิดีโอ ถึงมาออกโทรทัศน์ มาลงหนังสือพิมพ์ว่า ที่โน่น ที่นี่ น้ำท่วม มีคนที่เสียทุกอย่าง บ้านพัง ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นทุกข์อย่างมาก แต่ว่าเมื่อไม่มีน้ำท่วม ก็ไม่มีผู้ประสบภัย จึงไม่น่าตื่นเต้น แต่ที่ตื่นเต้นก็คือ ใช้เงินสามสิบล้าน ประหยัดได้เป็นพันล้านบำท อันนี้ก็เป็นกิจการของมูลนิธิที่ได้ตั้งหน้าที่ไว้ขึ้นมาเป็นเรื่องใหม่ คือว่าที่ไหนที่ป้องกันวาตภัยป้องกันภัยธรรมชาติได้ ก็ต้องพยายามทำ ป้องกันภัยธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่ยาก เพราะว่าธรรมชาติก็ตาม ที่เรียกว่าภัยธรรมชาตินั้นก็เป็นธรรมชาติ ไม่ใช่สิ่งที่ป้องกันได้อย่างง่ายๆ เพราะว่าธรรมชาติก็จะต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างตามธรรมชาติ แต่ว่าเรื่องธรรมชาตินั้นก็ยังพยากรณ์ได้ ยังรู้ได้ว่าจะเกิดภัยธรรมชาตินั้นที่ไหน ก็พอรู้ได้ ฉะนั้นมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯก็ได้สนใจว่า ภัยธรรมชาตินั้นจะมาเมื่อไหร่ มาอย่างไร ถ้ารู้แล้วก็สามารถที่จะป้องกันมิให้ภัยธรรมชาติเหล่านั้นมาทำความเสียหายกับประชาชน นี้ก็อาจจะดูเป็นวิทยาการชั้นสูง แต่เป็น
ไปได้ ข้อพิสูจน์ก็เป็นไปดังกล่าวที่ชุมพร
เมื่อปี ๔๐ มีน้ำท่วมที่ตัวเมืองชุมพร ท่วมหัวคน อย่างที่โรงพยาบำล คนที่เข้าไปในโรงพยาบาลพายเรือเข้าไป เข้าไปในอาคาร แม้จะในห้องเอกซเรย์ น้ำก็ท่วมเครื่องเอกซเรย์เสียหาย เคราะห์ดีแพทย์ที่เป็นรังสีแพทย์นั้น ตัวโต ก็ไม่จมน้ำตาย ถ้าเป็นตัวเล็กๆ ก็คงลุกเข้าไปในห้องเอกซเรย์ไม่ได้ก็เห็นได้ว่า น้ำมันท่วมอย่างร้ายแรงมาก อย่างรถยนต์หรือสิ่งของที่อยู่ในบ้าน บนถนน ก็เสียหายไปหมด นับเงินเป็นพันล้าน แต่ว่าประมาณไม่กี่เดือน ทีหลังจะมีภัยธรรมชาติที่แรงกว่าครั้งนั้นอีกเพราะว่ามีพายุซึ่งถึงขนาดเกือบจะเป็นไต้ฝุ่นเข้ามา ฝนก็ลงมาหนักและปรากฏว่าไม่มีน้ำท่วม ปีต่อมาคือปีที่แล้ว ปี ๔๑ ก็มีเช่นเดียวกัน มีพายุที่เข้ามาและก็เอะอะกันใหญ่ว่า ท่วมแน่ ท่วมแน่ ก็ไม่ท่วมก่อนที่พายุนั้นเข้ามา ชาวชุมพรได้เคยบอกว่า ปีนี้น่าจะมีพายุให้เข้ามากขึ้น คล้ายๆ ขอให้เข้ามาเพื่อที่จะได้พิสูจน์ว่า โครงการนี้ใช้งานได้ เพราะว่าปีก่อนปี ๔๐ มีพายุเข้ามาและไม่มีความเสียหาย ปี ๔๑ก็สมความต้องการของชาวชุมพร ก็มีพายุเข้ามาแต่ก็เป็นที่น่ายินดีว่าโครงการใช้งานได้ ไม่มีน้ำท่วมเสียหายอย่างใหญ่หลวง แบบที่เป็นในปี ๔๐ ปี ๔๐ นั่นน่ะแรงกว่าพายุเกย์ คือหมายความว่า ไม่แรงไม่แรงกว่า แต่ว่าภัยร้ายแรงกว่า ท่วมมากกว่า สูงกว่า หรือที่เรียกว่าลึกกว่าพายุเกย์ เมื่อไปเยี่ยมชุมพร ก็ได้ไปที่โรงพยาบำล เขาขีดเส้นไว้ว่าน้ำท่วมเกย์เท่าไหร่ ก็ดูสำหัสพอใช้แล้ว แต่น้ำท่วมปี ๔๐ท่วมมากกว่า ประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ฉะนั้นเวลามีพายุเข้ามา ก็ตื่นเต้นกันว่า จะเป็นอย่างไรจะสูงแค่ไหน ปรากฏว่าสูงสักคืบเดียว แล้วก็เดี๋ยวเดียวก็สูบน้ำออกไปได้ ฉะนั้นการที่ป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อประชาชน ทั้งชีวิตประชาชน ทั้งสิ่งของ ทรัพย์สินต่ำงๆ ของประชาชน แล้วก็ทั้งสิ่งของที่เป็นสำธารณประโยชน์ เช่น เครื่องเอกซเรย์ หรือถนน สะพาน ถ้ามีพายุ
และมีน้ำท่วม จะต้องเสียค่าซ่อมถนนเป็นจำนวนมหาศาล จึงต้องมีโครงการ ทำงผู้ที่มีหน้าที่เขาก็ทำ แต่มีหลายๆ ส่วน เช่น มีกรมชลประทำน มีกรมทำงหลวง มีกรมการปกครอง ทุกกรมทุกส่วนราชการนั้น เขาก็มีหน้าที่ที่จะดูแลความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชน แต่บำงทีก็ไม่ได้นึกว่าน่าจะคุยกัน น่าจะทำให้โครงการต่ำงๆ สอดคล้องกัน เดี๋ยวนี้ ก็ดีขึ้นมาก ผู้ที่สร้างถนน ก็ต้องสร้างถนนขวางทำงน้ำ และก็บอกว่ามีท่อแล้ว แต่ท่อนั้นน้ำผ่านไม่ได้ ก็ทำให้น้ำขึ้นมาสูง และผ่านเหนือถนนเหนือถนนแล้ว กระแสน้ำก็เซาะถนน ถนนนั้นก็พัง ก็มาติเตียนกรมชลประทำน ทำไมไม่ปล่อยน้ำออกไปให้น้ำไม่ท่วม กรมชลประทำนเขาก็บอกว่าปล่อยไม่ได้ เพราะว่ามีถนนขวางทำง ข้อนี้เป็นเรื่องของการไม่สอดคล้องของหน่วยราชการ และจะต้องได้ทะเลาะกันเป็นเวลานำน
เมื่อหลายสิบปีมา ชุมพรนี้เองเคยมีน้ำท่วม น้ำจะท่วมเพราะว่าน้ำกำลังสูงขึ้น สูงขึ้น สูงขึ้นเขาบอกว่า ชลประทำนไม่ได้ปล่อยน้ำที่ประตูน้ำสามแก้ว แต่ว่าถ้าชลประทำนปล่อยน้ำที่สามแก้วก็จะท่วมลงไป ต่ำลงไปก็ต้องท่วมอีก ฉะนั้นการสอดคล้องของโครงการนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่รู้ครั้งโน้นเป็นเวลาประมาณ ๔๐ ปีแล้ว ก่อนมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ เกิด ได้ติดต่อฟังจนกระทั่งถึงตี ๒ตี ๓ ตี ๔ ฟังว่าน้ำสูงเท่าไหร่ ก็พยายามที่จะให้เขาป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมมากเกินไป ก็รู้สึกว่าพอที่จะได้ผล ได้ประโยชน์ที่จะทำให้น้ำท่วมน้อยลง แต่ว่าที่เรียกว่าอุปกรณ์หรือสิ่งของ โครงการยังไม่มี มีแต่ประตูน้ำสามแก้ว ถ้าเราอยากให้ไม่มีเลย ก็จะต้องทำโครงการอะไรที่จะช่วยบรรเทาความเสียหายเหล่านี้ ซึ่งได้ทำในปี ๔๐
ในปี ๔๐ นั้น ส่งคนไปและเขาไปสำรวจที่ เมื่อสำรวจแล้วก็เห็นได้ว่า มีทำงที่จะป้องกันคือมีคลองของชลประทำนได้สร้างแล้ว ก็เป็นความดีของเขา แต่คลองนั้นไม่ทะลุ คลองไม่ทะลุเพราะเหตุว่า ตรงที่ควรจะทะลุนั้น เป็นเนิน เป็นสันขึ้นมา ก็ต้องเจำะ จะต้องขุด ก็บอก บอกว่ามีแผนแล้ว แต่ยังไม่มีงบประมาณ แล้วก็ได้ถามเขาว่า ถ้ามีงบประมาณจะสร้าง จะทำได้ไหม จะเจำะให้ทะลุได้ไหม เขาบอกว่าได้ ก็เลยนึกว่าจะให้ทำงราชการ แม้จะเป็นเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำ ก็ควรจะอนุมัติได้เขาก็บอกอนุมัติได้ แต่เงินก็ยังไม่มี ฉะนั้นถึงได้ให้เงินสามสิบล้านนี้ ที่จะทำให้บริษัทรับเหมาสามารถซื้อน้ำมันและจ่ายเงินค่าตอบแทนสำหรับคนงาน ให้เขาขุด แล้วก็เขาบอกตอนนั้นว่า โครงการนี้จะสำเร็จ จะแล้วเสร็จในปี ๔๒ คือปีปัจจุบันนี้ ถ้าเสร็จในปี ๔๒ จะต้องประสบน้ำท่วมใหญ่ ๒ ครั้งก็เป็นอย่างที่ว่าพันหกร้อยล้าน ความเสียหาย จึงบอกว่าสามสิบล้านนี่เอาไปแต่ทำแล้วต้องทำเสร็จภายในเดือนเดียว เขาก็บอกไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ ก็เลยให้อย่างมาก ๒ เดือน ๒ เดือนนี่เพราะเหตุใดก็เพราะเห็นว่าในระยะนั้นจะมีพายุเข้ามา ๒ เดือนข้างหน้านั้น ตอนนั้นรู้ว่าต้องมีพายุลักษณะเป็นอย่างนั้น ลงท้ายเขาก็ทำ มีปัญหานำนำประการ ขุดคลองนั้นชาวบ้านไม่ยอม เพราะถ้าขุดแล้วถนนที่ข้ามไปก็ถูกตัด ก็ต้องสร้างสะพาน ต้องสร้างสะพานให้ประชาชนสัญจรได้ ที่จริงมีสะพานแล้วอีกส่วนแต่อ้อมไป ฉะนั้นก็ยอม ยอมเสียเงินอีก ให้สร้างสะพาน ในที่สุดก็เสร็จภายใน ๒ เดือนพอดี๒ เดือนพายุก็มาตามที่คำดคะเน เพราะเป็นฤดูกาลที่จะต้องมีพายุ ฉะนั้นการที่ทุกฝ่ายได้ร่วมกันทำ
ทั้งฝ่ายจังหวัด ฝ่ายกรมต่ำงๆ จากส่วนกลางก็ได้ทำให้ประชาชนมีความสุขได้ แต่ว่าที่ผ่านพ้นไปได้ก็เพราะว่ามีเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ ไปดู ไปปฏิบัติการจากกรุงเทพฯ ไปชุมพร ไปโดยรถยนต์ ก็กินเวลา ๗ ชั่วโมง ๗ ชั่วโมงไป ๗ ชั่วโมงกลับ แล้วไปที่โน่นก็ยังต้องไป ไม่อยากใช้คำว่าทะเลาะ แต่จะต้องไปทำให้คนเข้าใจ กำนันผู้ใหญ่บ้านเข้าใจ ทีแรกก็ไม่เข้าใจและไม่ยอม แม้ข้าราชการที่นั่นก็ไม่เข้าใจ เขาก็บอกว่านี่ที่ทำโครงการนี้คุณได้อะไร คนที่ไปบอกว่า ไม่มีที่ดินหรือผลประโยชน์แต่ประการใด อุตส่าห์นั่งรถมาหลายชั่วโมง และกลับอีกหลายชั่วโมง เหน็ดเหนื่อย แต่มาเพราะว่าไม่อยากให้เกิดความทุกข์กับประชาชน ในที่สุดเขาก็เข้าใจ แต่ต้องแสดง จะเรียกว่าอภินิหารให้เขาทราบคราวที่เดินทำงไป ไปเอง ไปดู สำรวจผลดีที่เราทำ ไปจอดที่สะพานแห่งหนึ่ง ซึ่งถ้าชะโงกดูแล้วไม่มีแม่น้ำ ไม่มีแม้แต่คลองหรือลำธารผ่าน แต่ก็ได้บอกกับกำนันที่อยู่ตรงนั้น บอกว่าตรงนี้เวลาน้ำท่วมน้ำผ่านมาใช่ไหม เขาบอกใช่ ครั้งก่อนนี้ที่ท่วมมาก น้ำผ่านเหนือราวสะพานด้วยซ้ำไป แต่เวลาที่เราไปนั้น ไม่มีเลย ข้างใต้ดูท่าทำงไม่มีลำธาร ไม่มีอะไร มีเป็นหญ้า และก่อนที่จะไปถึงตรงนั้น มี
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบอกว่า ไม่ให้หยุดที่สะพานนั้น ฝนกำลังตกแรง กำลังมีพายุ ไม่ให้หยุดแล้วก็บอกมีพายุ ก็มีพายุ เราจะหยุดตรงนั้น แล่นไปถึงสะพานแล้ว ไม่มีพายุ ฝนสักเม็ดยังไม่ตกเลยแต่เขาบอกก่อนที่ไปถึงฝนตกหนัก อันนี้ก็ถือว่าเป็นอภินิหารอย่างหนึ่งที่ทำให้หยุดได้ เมื่อหยุดได้แล้วก็ถามผู้ที่เป็นกำนัน บอกตรงโน้นคลองท่าแซะใช่ไหม บอกใช่ แล้วก็น้ำเวลามา มาตรงจากแนวโน้นแล้วก็ลงไปทำงตะวันออก เขาบอกใช่ ก็เลยบอกเขาว่าน้ำที่มานั้นน่ะ ปกติเขามาข้างใต้ แล้วข้างใต้นั้นจะต้องเป็นทราย เป็นดินข้างบน แต่เจำะลงไปต้องเป็นทราย น้ำจึงผ่านมาได้ มาออกคล้ายๆ เป็นน้ำพุน้ำสระ มาลงในหนอง หนองใหญ่ที่บอกว่าเป็นแก้มลิงธรรมชาติ ที่เป็นแก้มลิงธรรมชาติ แต่ธรรมชาติกำลังถูกทำลาย เราจึงต้องไปแก้ไขแก้มลิงนั้นให้เป็นแก้มลิงที่มีประสิทธิภาพ ต่อจากนั้นได้ให้เจ้าหน้าที่เขาเอาเครื่องเจำะ ก็เจำะตามแนวที่ชี้ข้างใต้เหมือนเป็นลำธาร หรือเป็นลำคลองใต้ดินที่ไม่ได้ตรง แต่คดเคี้ยวไปมาแต่ก็เป็นคลอง เจำะเป็นแนวมา และเคยบอกว่าถ้าให้ดีตรงนั้น ระหว่างคลองท่าแซะกับหนองใหญ่นั้นควรจะขุดคลอง น่าจะขุดคลอง เขาก็บอกว่ายอม ก็ที่ตรงนั้นเวลาธรรมดา เขาก็เพาะปลูก ปลูกข้าว ปลูกอย่างอื่น แต่ว่าเมื่อเจำะรูแล้ว ก็ได้ทราบว่าแนวคลองธรรมชาติใต้ดินนั้นเป็นยังไง ก็เลยบอกเขาว่า อย่าเพิ่งขุด เพราะว่าถ้าขุดคลองนั้นจะเกิดปัญหาอีก จะท่วมที่อื่น จะทำให้น้ำที่มาจากคลองท่าแซะ มาท่วมทำงด้านหนองใหญ่นี่มากเกินไป แล้วก็น้ำที่ผ่านมาทำงนี้ จะไม่ผ่านเมืองชุมพร ก็หมายความว่าคลองหรือลำน้ำที่ผ่านชุมพร มันจะแห้ง น้ำจืดจะไม่มีน้ำเกลือ น้ำเค็มจะทะลักขึ้นมา ลงท้ายจะทำน้ำประปาไม่ได้ จึงต้องชะลอน้ำไม่ให้หลุดออกมา ไม่ให้ทะลุออกมาลงทะเลโดยตรง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนเหมือนกันทั้งนั้น แต่ก็เป็นหลักวิชาที่แตกต่ำงกัน เจ้าหน้าที่แตกต่ำงกัน ฉะนั้นถึงบอกว่ามูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ นี่มีความสำคัญ และก็ได้ช่วยให้มีประโยชน์เกิดขึ้นมา คือความอยู่เย็นเป็นสุข
ของประชาราษฎร ถึงว่าต้องขอบใจกรรมการทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และทั้งผู้ที่บริจาคทรัพย์บริจาคสิ่งของ เพื่อที่จะทำให้มูลนิธิสามารถที่จะทำงานได้ นอกจากนี้ นอกจากโรงเรียนราชประชา-นุเคราะห์ ซึ่งท่านทั้งหลายก็ได้เห็นผลเมื่อตะกี้ที่เป็นผู้ที่ประสบภัยครั้งโน้นน่ะที่เขาเรียกว่าภัยแหลมตะลุมพุกได้เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่แล้ว เขาได้เรียนอย่างขยันหมั่นเพียร และทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียร จนกระทั่งมีตำแหน่งสูงๆ การศึกษาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และเขาก็กลับมาช่วยมูลนิธิฯ ต่อไป ส่วนที่ได้กล่าวถึงการศึกษาทำงดาวเทียมนั้น ก็เป็นโครงการที่มาหนุนมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ เหมือนกัน เพราะว่าถ้าประชาชนมีความรู้ ก็หมายความว่าเด็กสามารถที่จะเรียนวิชาการต่ำงๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ทั้งด้านภาษาได้ดี ก็สามารถที่จะดำรงชีวิตได้ ได้ดีได้ดีมาก นอกจากนั้นโรงเรียนที่รายการของการศึกษาทำงดาวเทียมนี้ ก็ได้พยายามที่จะให้นักเรียนความรู้ทำงจริยธรรมด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ก็บ่นกันว่า เยาวชนชักจะไม่ค่อยมีจริยธรรมไม่ค่อยมีความดี เลยทำให้เกิดเดือดร้อนทั่วประเทศ เกิดปัญหาต่ำงๆ เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เกี่ยวข้อง
กับการรุนแรง ความรุนแรงต่ำงๆ ฉะนั้นการสอนของโครงการการศึกษาทำงดาวเทียมนั้นจะทำให้ราษฎรของประเทศชาติ มีคุณสมบัติ มีคุณภาพดีขึ้น ฉะนั้นงานนี้ งานศึกษา แล้วก็งานช่วยเหลือผู้ประสบภัย งานป้องกันอุทกภัย ภัยธรรมชาติต่ำงๆ นี้สอดคล้องกันหมด ถ้าทำได้ดีทุกคนก็จะมีความสุข ทุกคนจะมีความเจริญได้
วันนี้ ที่มาก็มีพ่อเมืองต่ำงๆ พ่อเมืองทั้งหลายนี่ถ้าดูไป ก็เป็นตัวแทนของส่วนกลาง แต่ว่าสำคัญที่สุด พ่อเมืองทั้งหลายเวลาไปอยู่ในจังหวัดนั้นๆ ก็เกิดความรู้สึกว่า จังหวัดนั้นๆ มีลูกมีหลานทั้งนั้น ไม่ใช่เพียงว่าตัวเป็นนำย ไม่ได้เป็นเจ้าเมือง เป็นพ่อเมือง ฉะนั้นก็ถ้าฝ่ายปกครองพยายามทำให้ดีหรือดูแลบ้านเมือง ดูแลจังหวัด อย่างเป็นพ่อ ก็จะทำให้ประชาชนทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่มีความรู้สึกอุ่นใจ และก็ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดีขึ้น มีความสุข ความร่าเริงมากขึ้น อย่างไรก็ตามวันนี้ที่พูดไปอย่างนี้ ก่อนลงมาก็ตั้งใจจะพูดอะไรอย่างอื่นแต่ว่าจำไม่ได้ จำไม่ได้เพราะว่ามีผู้ที่ร่วมมือในกิจการของมูลนิธิ และมีผู้ที่บริจาคมากเหลือเกิน นับไม่ได้ นับแล้ว นับไม่ถ้วน ก็เลยทำให้ลืมว่าจะพูดว่ากระไร จึงได้พูดอย่างที่ได้พูดนี้ ก็ต้องขออภัยว่าพูดค่อนข้างจะวกวน แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องขอบใจในนำมของประชาชนที่ได้รับประโยชน์จากการงานของท่าน ทั้งขอบใจทั้งกรรมการฝ่ายที่เรียกว่าส่วนกลาง กรรมการบริหาร กรรมการฝ่ายจังหวัด และทุกท่านที่ได้สนใจในกิจการและได้สนับสนุนกิจการ รวมทั้งผู้ที่สนับสนุนกิจการของการศึกษาทำงดาวเทียม ซึ่งก็เป็นส่วนของการช่วยเหลือให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข และมีอนำคตที่ดี ทำให้บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองได้ก็ขอขอบใจทุกคนที่ได้มาในวันนี้.
พระราชทานแก่ คณะกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ ส่วนกลางคณะกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ประจำจังหวัด และมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมพร้อมด้วย ผู้มีจิตศรัทธา นักเรียนทุนพระราชทานการศึกษาสงเคราะห์ และสื่อมวลชน