โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๗ จังหวัดหนองคาย
ประวัติโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๗
กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาเห็นสมควรสนับสนุนกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในมหามงคลวโรกาสเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติได้ ๕๐ ปี โดยจัดตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์เพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน ซึ่งให้รับนักเรียนแบบสหศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ดำเนินการรับนักเรียนยากไร้ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ การจัดการศึกษาให้เด็กดังกล่าวจะฝึกอบรมในวิชาสามัญ และวิชาชีพให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ของท้องถิ่น และให้ความอุปการะเรื่องที่อยู่ อาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์การเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพให้มีความรู้เรื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยสามารถเป็นผู้นำหรือสื่อกลางระหว่างรัฐกับชุมชนที่ตนเองอยู่ได้เป็นอย่างดี พื้นที่การก่อตั้งเป็นพื้นที่ของ พลเอกชาติชาย ชุณหะวรรณ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายประมวล ภาวะสุอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้บริจาคที่ดินให้จัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพฯ ซึ่งได้รับการประสานงาน จากนายประสิทธิ์ จันทาทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย โดยมอบให้กองทัพภาคที่ ๒ เป็นผู้ดูแลการใช้ประโยชน์ในช่วงแรก ต่อมามูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ขออนุญาตแบ่งพื้นที่แห่งนี้จัดตั้งเป็น โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๗ จังหวัดหนองคาย ขึ้นมีพื้นที่ ๒๐๐ ไร่ การก่อสร้างโรงเรียนเริ่มตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๕๓๗ โดยประสานงานกับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพรพบรมราชูปถัมภ์ เพื่อให้ใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ซึ่งในโอกาสนี้ มีโรงเรียนราชประชานุเคราะห์จัดตั้งตามโครงจำนวน ๕ โรงเรียน และแห่งนี้ได้ชื่อโรงเรียนอย่างเป็นทางการว่า โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๗ จังหวัดหนองคาย โดยมีนายประจวบ วุฒิเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ ร่วมกับ นายขวัญแก้ว วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายอิศรา จริณยานนท์ รองอธิการบดีกรมสามัญศึกษา นายสมควร ร่มโพธิ์ทอง ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดหนองคาย นายวินัย พัฒนารัฐ ผู้อำนวยการกองการศึกษาพิเศษตัวแทนแม่ทัพภาคที่ ๒ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗ งบประมาณการดำเนินการในระยะเริ่มแรก ได้รับพระราชทานเงินจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจำนวน ๑,๔๐๐,๐๐๐ บาท และสมเด็จพระศรีนครินทรทราบรมราชชนนี จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท โดยให้กองทัพภาคที่ ๒ จัดสร้างหอนอนแบบมาตรฐาน ๒๖ และอาคารพยาบาลให้ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ อย่างละ ๑ ชุด และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย สมพระเกียติจึงมีการจัดสร้างอาคารเรียนหอนอน และอาคารประกอบเพิ่มเติม อีกอย่างละ ๑ อาคาร โดยใช้งบประมาณปี ๒๕๓๗ ส่วนในปีงบประมาณต่อๆ ไป กระทรวงศึกษาธิการได้พิจารณาจัดสรรให้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๓๘ – ๒๕๔๙ และ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๗-๒๕๓๘ คนที่ ๒ คือ นายสมยศ ประมูลศิลป์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙-๒๕๕๑ คนที่ ๓ คือ นางสาวทัศนีย์ สิงหวงค์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๔ คนที่ ๔ คือ นายทวีศักดิ์ ตั้งอารีอรุณ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ถึง ปัจจุบัน
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.rpk27nk.ac.th/